แก้ไขล่าสุด วันที่ 19th August, 2023 at 09:31 pm
กระดูกต้นคอทับเส้นประสาท (Cervical Spondylosis)
เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของกระดูกสันหลังส่วนคอ ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อน หรือกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดคอ ปวดไหล่ ปวดร้าวลงแขน ชา แขนอ่อนแรง มืออ่อนแรง มือชา ตาพร่ามัว เวียนศีรษะ ได้ยินเสียงในหู กลืนลำบาก หายใจลำบาก ฯลฯ
การรักษากระดูกต้นคอทับเส้นประสาท ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีต่อไปนี้
- ยา: แพทย์อาจสั่งยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้อักเสบ ฯลฯ
- กายภาพบำบัด: การทำกายภาพบำบัดจะช่วยบรรเทาอาการปวดและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ
- การผ่าตัด: การผ่าตัดอาจจำเป็นในบางกรณี เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล
นอกจากการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แล้ว ผู้ป่วยควรดูแลตัวเอง ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน
- นอนหลับให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
หากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
โรคกระดูกทับเส้น
รู้จักโรคกระดูกทับเส้นโรคกระดูกทับเส้น หรือ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยด้วยอาการปวดหลัง ปวดขา และเดินได้ในระยะสั้นลงเรื่อย ๆ อาการกระดูกทับเส้น หรือ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคนี้มักเกิดกับผู้สูงอายุ เนื่องจากการเสื่อมสภาพของข้อกระดูกสันหลังจนทรุดตัว ทำให้ร่างกายตอบสนองด้วยการสร้างกระดูกงอกหรือหินปูนขึ้นเพื่อต้านการทรุดตัวและไปกดทับเส้นประสาท หรือบางครั้งอาจเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท
รักษาโรคกระดูกทับเส้น
การรักษาโรคกระดูกทับเส้น หรือ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แพทย์จะให้การดูแลตามสภาพอาการโดยไล่ระดับไป ตั้งแต่แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการยกของหนัก ควบคู่ไปกับการกินยาแก้ปวด ใส่เสื้อรัดเอว และการออกกำลังกายในช่วงที่ยังเป็นไม่มากนัก แต่หากอาการหนักขึ้นมาอีกก็ต้องทำกายภาพบำบัด หากยังไม่หายก็ต้องพิจารณาฉีดยาเข้าช่องประสาทไขสันหลัง หรือทำการผ่าตัดรักษา
ในการผ่าตัดรักษาหลายครั้งที่แพทย์อาจทำการตัดกระดูกที่กดทับเส้นประสาท หรือ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หลาย ๆ ข้อออก แล้วต้องใช้โลหะที่ทำจากไททาเนียมดามกระดูกระหว่างข้อเพื่อให้กระดูกสันหลังเกิดความมั่นคงไม่ยุบตัวลง วิธีนี้แม้จะให้ผลดีอาการปวดหายได้เร็ว แต่ต้องใช้เวลาในการผ่าตัดนาน และต้องติดตามผลการรักษาจนกว่ากระดูกจะติดอีกหลายเดือน นอกจากนี้ยังอาจพบปัญหาข้อที่อยู่สูงถัดจากข้อที่เชื่อมแล้วมีอาการเสื่อมเร็วกว่าปกติ ดังนั้นหากการผ่าตัดไม่มีความจำเป็นต้องใส่โลหะไททาเนียม ศัลยแพทย์ควรเลือกการผ่าตัดที่ไม่ใส่โลหะมากกว่า
ผ่าตัดแผลเล็กแบบไม่ใส่โลหะ
เทคนิคการผ่าตัดรักษาที่เรียกว่า Microdecompression เป็นการผ่าตัดแบบเปิดแผลเล็กด้วยกล้องจุลทรรศน์และไม่ใส่โลหะ แพทย์จะกรอกระดูกส่วนที่กดทับหรือเบียดเส้นประสาท ซึ่งเป็นการแก้ไขเฉพาะตรงตามตำแหน่งที่เป็นปัญหา โดยไม่ต้องตัดเอากระดูกออกมาทั้งหมด และทำให้หลีกเลี่ยงการใช้โลหะได้ กระดูกที่เหลือยังสามารถยึดตัวแน่นหนาไม่หลวมคลอนและเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิม จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและลดค่าใช้จ่ายจากการใส่โลหะดามกระดูกไปได้มาก นอกจากนี้การผ่าตัดด้วยเทคนิค Microdecompression ยังมีข้อดีตรงที่แผลผ่าตัดเล็กกว่าการผ่าตัดธรรมดาจากแผล 5 – 8 เซนติเมตร เหลือเพียง 2 – 3 เซนติเมตรจึงทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและเจ็บน้อยอีกด้วย และด้วยการผ่าตัดเทคนิคนี้ลดการใส่โลหะดามกระดูกสันหลังโดยไม่จำเป็นลงได้มาก
source : bangkokinternationalhospital.com/