การครอบครองปรปักษ์

แก้ไขล่าสุด วันที่ 14th October, 2023 at 03:39 pm

การครอบครองปรปักษ์ (Prescription)

ในปัจจุบันเจ้าของที่ดินจํานวนไม่น้อยที่มีโฉนดที่ดินอยู่ต่างจังหวัดหลายฉบับ จนลืมหรือจําไม่ได้ว่าอยู่ที่ใดบ้าง ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า ไม่เคยเข้าไปดูแล ที่ดินเลยเป็นเวลานาน จนอาจมีบุคคลอื่นเข้ามาครอบครองหรือทํากินในที่ดินผืนนั้น หรือ บางคนกว้านซื้อที่ดินเอาไว้เก็งกําไรเท่านั้น โดยที่คนซื้อเองก็ไม่รู้ด้วยซ้ําว่าที่ดินของตัวเอง
อยู่ที่ไหนบ้าง เมื่อเข้าไปดูที่ดินของตัวเองตามที่อยู่ที่ปรากฏในโฉนดกลับปรากฏมีคนมาอาศัยอยู่ เสียแล้ว จึงขอนําเสนอบทความเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ เพื่อเป็นความรู้ในเบื้องต้นให้ได้ รับทราบ ดังนี้
คําว่า ครอบครองปรปักษ์ ประกอบด้วยสองคําคือ “ครอบครอง” และ “ปรปักษ์” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้อธิบายคําว่า “ครอบครอง” หมายถึง ยึดถือไว้, มีสิทธิถือเอาเป็นเจ้าของ, มีสิทธิปกครองและอธิบายคําว่า “ปรปักษ์” หมายถึง ข้าศึก ศัตรู, ฝ่ายตรงข้าม รวมความแล้วคําว่า “ครอบครองปรปักษ์” หมายถึง การครอบครองของฝ่าย ศัตรูหรือฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น การครอบครองปรปักษ์ตามความเข้าใจธรรมดาทั่วไป ย่อมหมายถึง การครอบครองที่มีลักษณะเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงอาจกล่าวได้ว่า การครอบครองปรปักษ์ หมายถึง การที่บุคคลได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยการครอบครอง ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ บัญญัติว่า


“บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วย เจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็น
สังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”


ซึ่งการที่ผู้ใดจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมาโดยครอบครองปรปักษ์ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ นั้น จะต้องมีหลักเกณฑ์ครบถ้วนดังต่อไปนี้

  1. ครอบครอง หมายถึง กิริยายึดถือทรัพย์สิน เช่น เข้าทําประโยชน์ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ในเรือกสวนไร่นา ถือว่าได้ครอบครองเรือกสวนไร่นานั้นแล้ว เป็นต้น
  2. ทรัพย์สินของผู้อื่น หมายถึง ทรัพย์สินที่เจ้าของมีกรรมสิทธิ์อยู่ ในกรณีที่ดิน จะต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดหรือตราจองเท่านั้น
  3. โดยสงบ คือ การครอบครองโดยปราศจากการข่มขู่ การใช้กําลัง การหลอกลวง และไม่มีใครมาหวงห้ามกีดกัน แสดงความเป็นเจ้าของ หรือการฟ้องร้องขับไล่
  4. โดยเปิดเผย คือ การครอบครองโดยมิได้หลบซ่อนเร้นปิดบัง หรืออําพรางใดๆ
  5. ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ คือ การครอบครองโดยเจตนาตั้งใจที่จะเป็นเจ้าของ ทรัพย์สินนั้น ไม่ใช่การครอบครองแทนผู้อื่น เช่น คนสวนเฝ้าสวนแทนเจ้าของสวนหรือ ครอบครองตามสัญญาที่ได้ให้อํานาจไว้ เช่น การครอบครองที่นาเพื่อทํานาตามสัญญาเช่านา เป็นต้น
  6. ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ติดต่อกัน ๑๐ ปี หรือสังหาริมทรัพย์ ๕ ปี
    ความหมายของ “อสังหาริมทรัพย์” โดยทั่วๆ ไป หมายถึง ที่ดินรวมทั้งทรัพย์ ที่ติดกับที่ดิน เช่น ตึกรามบ้านช่อง อาคาร ถาวรวัตถุ เป็นต้น “สังหาริมทรัพย์” คือทรัพย์ที่ขน เคลื่อนที่ได้
    การครอบครองปรปักษ์จะได้กรรมสิทธิ์ต้องปรากฏว่า ครอบครองติดต่อกัน
    ตลอดมาเป็นเวลานานตามกฎหมายกําหนดไว้ด้วย หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นต้องเป็นทรัพย์สิน
    ที่เจ้าของมีกรรมสิทธิ์อยู่ ซึ่งถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันนานถึง ๑๐ ปี แต่ว่า การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือการเป็นเจ้าของที่ดินนั้นก็ยังไม่สมบูรณ์ที่สุด นอกจากผู้ครอบครอง ปรปักษ์ที่ดินจะได้ไปจดทะเบียนการได้ที่ดินนั้นมากับเจ้าหน้าที่เสียก่อน โดยผู้ครอบครอง ปรปักษ์ที่ดินจะต้องไปร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาแสดงสิทธิ์ในที่ดินว่า
    ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินนั้นเป็นเจ้าของที่ดินตามกฎหมายแล้ว จากนั้นก็ต้องไปดําเนินการ
    ติดต่อยังสํานักงานทะเบียนที่ดิน เพื่อจดทะเบียนที่ดินเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของที่ดินเดิมในโฉนด
    ที่ดินนั้น มาเป็นของผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินเสียก่อน
    สําหรับที่ดินที่ไม่มีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ หรือเรียกกันว่า ที่ดินมือเปล่า
    เช่น น.ส.๓ หรือไม่มีหลักฐานเลย จะมีสิทธิเพียงการครอบครองเท่านั้น จึงไม่อาจอ้างการ ครอบครองปรปักษ์ ตามมาตรา ๑๓๘๒ ได้ แต่สามารถแบ่งการครอบครองกันได้ ตามมาตรา ๑๓๗๕ เพียงแต่ไม่มีกฎหมายรับรองให้ยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งแสดงสิทธิ
    ดังนั้น คนที่เป็นเจ้าของที่ดินทั้งหลาย ก็อย่าได้ปล่อยปละละเลยที่ดินของตัวเอง ควรจะต้องเข้าไปดูแล้วทําประโยชน์บนที่ดินนั้น อย่าคิดเอาเองว่า อย่างไรเสียก็เป็นเจ้าของ คงไม่สูญหายไปไหน เพราะกฎหมายเขาได้ให้สิทธิกับคนที่ได้เข้าไปทําประโยชน์ในที่ดินนั้นจริงๆ
    ไม่ใช่เพียงในนาม
    หากท่านใดประสงค์จะทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาโทรศัพท์สอบถาม ได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลด้านกฎหมายและหน่วยประสานงานวุฒิสภา โทร. ๐๒ ๒๔๔ ๑๕๖๕

source: https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/253/files/law%20week/57/2_257.pdf

เพิ่มเติม:

1. https://zommarie.com/การครอบครองปรปักษ์/

2. https://zommarie.com/หลานร้องต่อศาลแจ้งครอบครองปรปักษ์/

Share on: