แก้ไขล่าสุด วันที่ 28th August, 2023 at 11:05 am
คำสั่งเสียของบุคคลย่อมมีผลบังคับใช้ได้ หากคำสั่งเสียนั้นทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย และให้ถือเป็นพินัยกรรมอย่างหนึ่งตามกฎหมาย
คำสั่งเสียที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ต้องมีข้อความแสดงเจตนาของบุคคลที่จะทำพินัยกรรม
- ต้องทำด้วยตนเอง
- ต้องทำในขณะที่บุคคลยังมีสติสัมปชัญญะ
- ต้องทำต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
- ต้องทำตามแบบพินัยกรรมที่กฎหมายกำหนด
ในกรณีที่คำสั่งเสียถูกต้องตามกฎหมาย คำสั่งเสียนั้นย่อมมีผลบังคับใช้ได้ ไม่ว่าผู้รับมรดกจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม บุคคลใดฝ่าฝืนคำสั่งเสียอาจถูกฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งเพื่อบังคับให้ปฏิบัติตามคำสั่งเสีย
หากพ่อไม่ยอมแบ่งที่ดินตามคำสั่งเสียของย่า ทายาทโดยธรรมของย่าสามารถฟ้องร้องพ่อต่อศาลเพื่อขอแบ่งที่ดินตามคำสั่งเสียได้ ศาลจะพิจารณาพิพากษาให้พ่อแบ่งที่ดินตามคำสั่งเสียของย่า หากพ่อไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ศาลอาจสั่งให้บังคับคดีได้
แหล่งอ้างอิง:
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625-1656
- พระราชบัญญัติพินัยกรรม พ.ศ. 2477
เพิ่มเติม
มรดกที่ไม่มีพินัยกรรม ตกแก่ใครบ้าง เอกสารที่ใช้ประกอบการขอรับมรดก
เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของบุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ทันทีที่ตาย ทายาทโดยธรรมนั้นมี 6 ลำดับ
1.ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื้อ
2.บิดามารดา
3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4.พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
5.ปู่ ย่า ตา ยาย
6.ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีชีวิตอยู่ก็เป็นทายาทโดยธรรม
การแบ่งมรดกในลำดับชั้นต่าง ๆ
-ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมหลายลำดับ ทายาทในลำดับต้นจะได้รับมรดกไปก่อน ทายาทในลำดับรองลงมาไม่มีสิทธิได้รับมรดก
ยกเว้นกรณีที่เจ้ามรดกมีทายาทลำดับที่ 1 หรือทายาทลำดับที่ 1 ตายแต่มีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้ว และบิดาหรือมารดาของเจ้ามรดกซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 2 ยังมีชีวิตอยู่ บิดาหรือมารดาจะได้รับมรดกเหมือนเป็นทายาทชั้นบุตร(สรุปย่อ ถ้าบุตรและบิดาหรือมารดาของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ บิดาหรือมารดามีสิทธิ์รับมรดก)
การรับมรดกแทนที่
-ถ้าทายาทลำดับที่ 1 , 3 , 4 หรือ 6 ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย ให้ผู้สืบสันดานของทายาทนั้นรับมรดกแทนที่ หากผู้สืบสันดานตายเช่นเดียวกันก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ สืบต่อกันเช่นนี้จนหมดสาย
-ถ้าทายาทลำดับที่ 2 หรือลำดับที่ 5 ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย ห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป
สิทธิของคู่สมรสในการรับมรดก
-ถ้าเจ้ามรดกมีคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้แบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก่อน (เหมือนหย่ากันซึ่งได้รับไปตามสิทธิของตนชั้นหนึ่งก่อน)
ที่เหลือส่วนของผู้ตายจึงนำไปแบ่งปันระหว่างทายาท คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่จะมีสิทธิรับอีกต่อหนึ่ง ดังนี้
1.ถ้ามีทายาทลำดับที่ 1 ยังอยู่หรือตายแต่มีผู้รับมรดกแทนที่ คู่สมรสได้รับส่วนแบ่งเหมือนเป็นทายาทชั้นบุตร
2.ถ้ามีทายาทลำดับที่ 3 ยังอยู่หรือตายแต่มีผู้รับมรดกแทนที่ หรือ ไม่มีทายาทลำดับที่ 1 แต่มีทายาทลำดับที่ 2 คู่สมรสได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่ง
3.ถ้ามีทายาทลำดับที่ 4 หรือ 6 ยังอยู่หรือตายแต่มีผู้รับมรดกแทนที่ หรือ มีทายาทลำดับที่ 5 คู่สมรสได้รับสองในสามส่วน
4.ถ้าไม่มีทายาท คู่สมรสได้รับทั้งหมด
เอกสารที่ต้องนำไปประกอบในการขอรับมรดก
1.หนังสือแสดงสิทธิ์
2.ใบมรณะบัตรของเจ้ามรดกและทายาทที่ตาย
3.ทะเบียนสมรส หย่า ของเจ้ามรดก
4.ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวของทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกคน
5.ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกต้องไปสำนักงานที่ดิน หรือ นำเอกสารในการสละมรดกไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่
source: สำนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร